เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย Mosquito เชื้อมรณะ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของวงจรชีวิตยุง และสามารถออกแบบสร้างนวัตกรรมในการป้องกัน และกำจัดยุงได้อย่างสร้างสรรค์
- เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของยุง และสัตว์ต่างๆที่เป็นพาหะนำโรค รวมทั้งสามารถวางแผนป้องกันสุขภาพจากโรคติดต่อ
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแล กำจัด ตัดวงจร และแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคได้


Week10

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 10 : นักเรียนมีความตระหนักถึงการดูแลรักษา และป้องกันร่างกายของตัวเองจากเชื้อโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
10
14 - 18
.. 57

โจทย์ : โรคในอนาคต
Key Questions
- นักเรียนคิดว่าเชื้อโรคในอนาคตจะเป็นอย่างไร?
- นักเรียนมีวิธีดูแลรักษาร่างกายตัวเองอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
- Place mats วิเคราะห์ข่าวร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง/กระตุ้นการคิดด้วยคำถาม)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- ผู้ปกครอง (ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนประเด็นการกำจัดยุงอย่างไร)

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
                                     วันจันทร์                                      
ชง  
ครูเปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับนักเรียนคิดว่าเชื้อโรคในอนาคตจะเป็นอย่างไรและนักเรียนมีวิธีดูแลรักษาร่างกายตัวเองอย่างไร
เชื่อม  
ครูให้นักเรียนจัดกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับนักเรียนคิดว่าเชื้อโรคในอนาคตจะเป็นอย่างไรและนักเรียนมีวิธีดูแลรักษาร่างกายตัวเองอย่างไรโดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin)
ใช้
- นักเรียนออกแบบชิ้นงานเพื่อสรุปความคิดเห็นร่วมกันในรูปแบบต่างๆ
- นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นของกลุ่มแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆกลุ่มอื่นๆ
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
                                   วันอังคาร                                     
ชง  
ครูเชิญผู้ปกครองคุณแม่ของพี่ภูพานมาให้ความรู้กับนักเรียน เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยุงในแต่ละช่วงให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
เชื่อม
- นักเรียนและผู้ปกครองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยววิธีการกำจัดยุง
- ผู้ปกครองร่วมตอบคำถามสิ่งที่นักเรียนอยากรู้โดยใช้เครื่องมือคิด (
Round Rubin)
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจจากการเรียนรู้ของตนเองผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย 
                          วันพุธ  -   วันพฤหัสบดี                 
ชง
ครูนำข่าวเกี่ยวกับโรคติดต่อที่อันตรายต่อชีวิตหลากหลายโรค โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆละ 3 คนเพื่อวิเคราะห์ข่าวร่วมกันในประเด็นดังนี้
- ข่าวพูดถึงเรื่องอะไร
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่ออ่านข่าวจบ
- นักเรียนจะทำอย่างไรถ้าเราเป็นบุคคลในข่าว (ความรู้สึกในฐานะของผู้ป่วย/ความรู้สึกในฐานะของผู้ดูแลผู้ป่วย)
เชื่อม
- นักเรียน
สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันภายในกลุ่มโดยใช้เครื่องมือคิด (Place mats)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
ใช้

นักเรียนสรุปความเข้าใจจากการเรียนรู้ของตนเองผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย
                                    วันศุกร์                                   
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่
9  ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย

ชิ้นงาน
- ชาร์ตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโรคในอนาคต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- โรคในอนาคตตามความคิดของนักเรียน
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจ และสามารถดูแลรักษาและป้องกันร่างกายของตัวเองจากเชื้อโรคที่จะเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและในอนาคต
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับเพื่อนๆได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงนำความรู้ที่หลากหลายเพื่อสร้างเป็นความรู้ใหม่ของตนเองจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ตนเองเข้าใจเกี่ยวกับข่าวที่ได้รับมอบหมายร่วมกับเพื่อนๆในกลุ่มได้
ทักษะการสื่อสาร

- อธิบายความเข้าใจร่วมกันของกลุ่มให้เพื่อนกลุ่มอื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายความรู้สึกของตนเองในในการวิเคราะห์ข่าว
คุณลักษณะ :
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้อ่านและข้อมูลที่ได้จากผู้อื่นได้


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 10
    ในสัปดาห์นี้ครูเปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ“นักเรียนคิดว่าเชื้อโรคในอนาคตจะเป็นอย่างไร” และ “นักเรียนมีวิธีดูแลรักษาร่างกายตัวเองอย่างไร” จากนั้นครูให้นักเรียนจัดกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับ “นักเรียนคิดว่าเชื้อโรคในอนาคตจะเป็นอย่างไร” และ “นักเรียนมีวิธีดูแลรักษาร่างกายตัวเองอย่างไร” โดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin) แล้วนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันออกแบบชิ้นงาน เพื่อสรุปความคิดเห็นร่วมกันในรูปแบบต่างๆ จากนั้นนำเสนอความคิดเห็นของกลุ่มแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆกลุ่มอื่นๆ เพื่อสะท้อนและแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ในชั่วโมงต่อมาครูนำข่าวเกี่ยวกับโรคติดต่อที่อันตรายต่อชีวิตหลากหลายโรค โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆละ 3 คนเพื่อวิเคราะห์ข่าวร่วมกันในประเด็นดังนี้ ข่าวพูดถึงเรื่องอะไรนักเรียนทุกคนสามารถเล่าข่าวที่ตนเองอ่านให้เพื่อนๆฟังได้ แล้วบอกความรู้สึกทุกของตนเองหลังจากอ่านข่าวเสร็จ ทุกคนบอกคล้ายๆกันว่าน่ากลัวและสงสารผู้ป่วย ไม่อยากเป็นโรคนั้น ครูจึงให้คำถามต่อถ้านักเรียนเป็นผู้ป่วยนักเรียนจะทำอย่างไร ทุกคนบอกอย่างรวดเร็จต้องไปหาหมอและดูแลตัวเองตามที่หมอสั่งครับ/ค่ะ แล้วถ้าเราคือผู้ดูแลผู้ป่วยละจะทำอย่างไร พี่ๆบอกว่าต้องดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วย ให้กำลังใจ เมื่อแต่ละกลุ่มได้พูดคุยร่วมกันเรียบร้อยนักเรียนแต่ละคนทำสรุปประเด็นของข่าว และตอบคำถาม “นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่ออ่านข่าวจบ ? นักเรียนจะทำอย่างไรถ้าเราเป็นบุคคลในข่าว (ความรู้สึกในฐานะของผู้ป่วย/ความรู้สึกในฐานะของผู้ดูแลผู้ป่วย) ?” ลงในกระดาษ A4
    ในวันศุกร์ผู้ปกครองของพี่ภูพานเชิญท่านวิทยากรจากโรงพยาบาลลำปลายมาศ คุณพยาบาลลัดดา (ป้าตุ๊ก) มาให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดยุงในแต่ละช่วงวัยของยุงให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด นักเรียนให้ความสนใจและได้ความเข้าใจมายิ่งขึ้นในเรื่องต่างๆ เช่น อุปกรณ์ดักจับยุงที่นักเรียนได้ทำการทดลองแล้วหลายครั้งทำไหมไม่ได้ยุงตามเป้าหมายแต่เป็นสิ่งอื่นที่ได้แทน คุณป้าตุ๊กบอกนักเรียนว่า ยุงชอบสีดำเหมือนที่นักเรียนคิดแต่เราต้องการยุงเข้าไปในอุปกรณ์ดังนั้นกล่องหรือขวดควรเป็นสีใส่เพื่อให้ยุงมองเห็นผ้าสีดำข้างในกล่องหรือขวดที่เราสร้างขึ้น ดังนั้นอุปกรณ์ที่นักเรียนสร้างขึ้นยุงชอบจริงแต่จะมาเกาะอยู่ภายนอกเท่านั้นไม่เข้าไปในกล่องเพราะพื้นที่สีดำภายในมากกว่ารูที่จะเข้าไปข้างใน นักเรียนจึงได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับอุปกรณ์ดักจับยุง ใช่ขวดใส่ นำผ้าสีดำชุบน้ำแล้วใส่เข้าไป ถ้าทำที่กับดักลูกน้ำใช้ขวดสีดำลูกน้ำชอบ นักเรียนขอบคุณป้าตุ๊กกันใหญ่ “หนูเข้าใจแล้วค่ะ / ผมเข้าใจแล้วครับ” ป้าตุ๊กใจดียังบอกวิธีการกำจัดยุงในแต่ละช่วงซึ่งไม่ต้องพึ่งสารเคมีเลย นักเรียนทุกคนบอกหลังเสร็จกิจกรรมจะไปกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่บ้าน
    นอกจากเรียนรู้ PBL แล้วในวันศุกร์นี้นักเรียนได้เรียนรู้การทำอาหารพื้นบ้านทางภาคใต้จากคุณแม่และคุณยายของพี่ใยบัว เป็นขนมครกข้าวเหนียว และขนมโคจากครูแวว ซึ่งได้ทำและกินร่วมกันอย่างสนุกสนาน และเพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกันครูจึงจัดให้วันศุกร์เป็นวันเปิดตลาดของห้องด้วย โดยมีผู้ปกครองของพี่ป.4 และนักเรียนร่วมกันทำและจัดจำหน่ายหารายได้เข้าห้อง ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดีจนแล้วเสร็จกิจกรรม

    ตอบลบ