เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย Mosquito เชื้อมรณะ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของวงจรชีวิตยุง และสามารถออกแบบสร้างนวัตกรรมในการป้องกัน และกำจัดยุงได้อย่างสร้างสรรค์
- เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของยุง และสัตว์ต่างๆที่เป็นพาหะนำโรค รวมทั้งสามารถวางแผนป้องกันสุขภาพจากโรคติดต่อ
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแล กำจัด ตัดวงจร และแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคได้


Week 4


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 4 : นักเรียนเข้าใจวงจรชีวิตของยุงจากการออกแบบและวางแผนการเพาะพันธ์ยุง เพื่อหาวิธีการกำจัด ตัดวงจร และควบคุมพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์ ได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
4

 2 – 6
มิ.ย. 57
โจทย์  วงจรชีวิตของยุง
คำถาม
- นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเพาะพันธุ์ยุงอย่างไร?
- นักเรียนจะมีวิธีกำจัดตัดวงจรและควบคุมยุงที่เพาะพันธุ์ได้อย่างไร?
- ช่วงวัยไหนที่ยุงเป็นพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์?
- นักเรียนควรกำจัดยุงช่วงวัยไหนที่มีคุณภาพที่สุด/เพราะเหตุใด?
- ทำไมยุงต้องดูดเลือด?
- ถ้ายุงไม่กินเลือดจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร?
- สร้างอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ยุงจากวัสดุที่ทุกคนเตรียมมาแล้วนำยุงปล่อยเข้าไป?
- คนและยุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?เครื่องมือคิด
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน
- Think Pair Share เพื่อเลือกเรื่องที่
อยากเรียนรู้
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้โดยจัดเตรียมอุปกรณ์เช่น มุ่ง ไม้ เชือก และนำคลิปวีดีโอเพื่อเชื่อมโยงคนกับยุง/กระตุ้นการคิดด้วยคำถาม)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้และออกแบบวางแผนสร้างอุปกรณ์เพาะเลี้ยงยุง)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ “การกำเนิดของคน”
                                       วันจันทร์                              
ชง  ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเพาะพันธุ์ยุงอย่างไร”
เชื่อม ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่มๆละเท่าๆกัน เพื่อร่วมกันออกแบบและวางแผนการเพาะเลี้ยงยุงที่สามารถควบคุมได้
ใช้
- นักเรียนวาดภาพจำลองแบบของอุปกรณ์เพาะพันธุ์ยุง
- นักเรียนแบ่งหน้าที่เพื่อเตรียมอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ยุง
- นักเรียนสร้างอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ยุงจากวัสดุที่หามาได้แล้วนำยุงปล่อยเข้าไป
                               วันอังคาร                                                                                                                   
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “วงจรชีวิตของยุงเป็นอย่างไร”
จากนั้นนักเรียนศึกษาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงจรชีวิต ของยุงในช่วงวัยต่างๆจากแหล่งเรียนรู้ที่มี ควบคู่กับการสังเกตการเพาะเลี้ยงยุง
เชื่อม ครูและนักเรียนสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับวงจรชีวิตของยุง และตอบคำถามร่วมกันดังนี้
- ช่วงวัยไหนที่ยุงเป็นพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์?
- นักเรียนควรกำจัดยุงช่วงวัยไหนที่มีคุณภาพที่สุด/เพราะเหตุใด?
- ทำไมยุงต้องดูดเลือด?
- ถ้ายุงไม่กินเลือดจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร?
โดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin)
ใช้
- นักเรียนสังเกตและบันทึกผลการเพาะเลี้ยงยุง
- นักเรียนทำโมเดลจำลองวงจรชีวิตของยุง
                            วันพุธ  - วันพฤหัสบดี                    
ชง ครูเปิดคลิปวีดีโอการกำเนิดของคนให้นักเรียนดู แล้วกระตุ้นด้วยคำถามดังนี้
-       นักเรียนเห็นอะไรบ้าง
-       ดูแล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร และคิดเห็นอย่างไร
-       คนและยุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เชื่อม นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share)
ใช้
- นักเรียนสรุปการกำเนิดของคน
- นักเรียนสังเกตและบันทึกผลการเพาะเลี้ยงยุง
                                    วันศุกร์                                    
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้ นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย 
ชิ้นงาน
- อุปกรณ์เพาะเลี้ยงยุง
- โมเดลจำลองวงจรชีวิตยุง
- สรุปการกำเนิดของคน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ภาระงาน
- ออกแบบและวางแผนการเพาะเลี้ยงยุงที่สามารถควบคุมได้
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายวงจรชีวิตของยุงและวิธีการกำจัด ตัดวงจร และควบคุมพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์ ได้
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมในการออกแบบและวางแผนการเพาะเลี้ยงยุงได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกัน
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงวงจรชีวิตของยุงกับคนได้
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ได้รับฟังมาถ่ายทอดเป็นความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายการออกแบบและวางแผนในการเพาะเลี้ยงยุงให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้ดูและข้อมูลที่ศึกษาด้วยตนเองได้









1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 4
    ในสัปดาห์ที่ 4 นี้นักเรียนทำ PBL ย่อยต่อเพื่อศึกษาวงจรชีวิตของยุงเป็นอย่างไร ซึ่งนักเรียนจะได้สังเกตเห็นชีวิตของยุงจากตัวโม่งกลายเป็นยุงอย่างสมบูรณ์ และเฝ้าดูชีวิตของยุงโดยที่ยุงไม่ได้รับอาหารจะมีชีวิตอยู่ได้สักกี่วัน สำหรับช่วงชีวิตนี้มายาวบางสั้นบางขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มากระบทกับยุงเช่น นักเรียนทดลองเขย่าขวดน้ำที่มีตัวยุงอยู่ ยุงก็จะมีชีวิตรอดจำนวนน้อยวันกว่า ขวดน้ำที่ไม่ได้เขย่า จากนั้นนักเรียนได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆเพื่อนำมาเปรียบเทียบกันกับการทดลองเพาะพันธุ์ยุงโดยวิธีควบคุมที่อยู่และอาหาร นักเรียนเห็นความแตกต่างตรงช่วงวัยที่กลายเป็นยุง การที่เราควบคุมอาหารและเขย่าทำให้ช่วงชีวิตของยุงสั้นลงเป็นหลายเท่า เมื่อนักเรียนนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันเรียบร้อยแล้วก็ได้ช่วยกันสรุปวงจรชีวิตของยุงร่วมกัน และสร้างโมเดลจำลองวงจรชีวิตของยุง เพื่อเชื่อมโยงยุงมาสู่ตัวนักเรียนครูจึงกระตุ้นโดยการตั้งคำถาม ยุงเกิดจากไข่ยุง แล้วตัวนักเรียนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีวงจรชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองร่วมกันเท่าที่ตนเองรู้ หรือลองคาดเดา จากนั้นครูเปิดคลิปวีดีโอการกำเนิดของคนให้นักเรียนดู และการคลอดทั้งสองแบบทั้งคลอดตามธรรมชาติ และผ่าตัด เมื่อดูเสร็จครูกระตุ้นด้วยคำถามดังนี้ นักเรียนเห็นอะไรบ้าง ,ดูแล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร และคิดเห็นอย่างไร,คนและยุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร จากนั้นนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share) ครูช่วยเขียนเพื่อให้นักเรียนเห็นสิ่งที่จะช่วยกันขมวดมากขึ้น แล้วนำสิ่งที่สรุปได้มาแต่งนิทานที่ถ่ายความเข้าใจสู่ผู้อ่านได้ และสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ผ่านชิ้นงานตามความเข้าใจของตนเอง

    ตอบลบ