เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย Mosquito เชื้อมรณะ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของวงจรชีวิตยุง และสามารถออกแบบสร้างนวัตกรรมในการป้องกัน และกำจัดยุงได้อย่างสร้างสรรค์
- เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของยุง และสัตว์ต่างๆที่เป็นพาหะนำโรค รวมทั้งสามารถวางแผนป้องกันสุขภาพจากโรคติดต่อ
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแล กำจัด ตัดวงจร และแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคได้


Week 5


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 5 : นักเรียนเข้าใจลักษณะของยุงแต่ละสายพันธุ์ และสามารถอธิบายโครงสร้างของยุงเชื่อมโยงสู่คนได้

Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
5
9 - 13
มิ.ย. 57
โจทย์  สายพันธุ์ของยุง
คำถาม
- ยุงแต่ละสายพันธุ์มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- ช่วงไหนของยุงที่เกี่ยวกับโรคมากที่สุด?
- เราป่วยเพราะยุงได้อย่างไร?
- คนกับยุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง/กระตุ้นการคิดด้วยคำถาม)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้และออกแบบวางแผนสร้างอุปกรณ์จับยุง)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
                         วันจันทร์                    
ชง  ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนมีวิธีในการจับยุงได้อย่างไร” นักเรียนทุกคนสร้างอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจับยุงของตัวเองจากวัสดุที่ใกล้ตัว เช่นถุงพลาสติก ตาข่าย ขวดน้ำ ฯลฯ เมื่อทุกคนมีอุปกรณ์จับและใส่ยุงแล้ว ครูพานักเรียนเดินสำรวจและเก็บตัวอย่างยุงจากสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องเก็บของ ห้องน้ำ สวนป่า ห้องเรียน ฯลฯ
เชื่อม ครูให้นักเรียนนำตัวอย่างของยุงแต่ละตัวที่จับมาได้ ส่องดูโครงสร้างของยุงและลักษณะเด่นด้วยแว่นขยาย จากนั้นทุกคนช่วยกันจัดกลุ่มยุงที่มีลักษณะคล้ายกันอยู่ด้วยกันโดยใช้เครื่องมือคิด
(Round Rubin)
ใช้ นักเรียนวาดภาพโครงสร้างของยุงแต่ละกลุ่มลงในสมุด
            วันอังคาร  - วันพุธ                ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ยุงมีสายพันธุ์อะไรบ้าง/ ยุงแต่ละสายพันธุ์มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร” จากนั้นนักเรียนทุกคนช่วยกันหาคำตอบจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
เชื่อม ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ศึกษามาร่วมกันแล้วช่วยกันจัดหมวดหมู่ของสายพันธุ์ของยุง ในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้าง รูปร่างลักษณะเด่นๆ การเคลื่อนที่ของลูกน้ำและตัวเต็มวัย ช่วงเวลาในการหาอาหาร และเชื้อโรคที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เครื่องมือคิด
(Blackboard Share)
ใช้
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่องเกี่ยวกับสายพันธุ์ของ
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงาน และเพิ่มเติมชิ้นงานของร่วมกัน
                วันพฤหัสบดี                    
ชง  ครูเปิดวงสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนร่วมกันในประเด็นดังนี้
- ช่วงไหนของยุงที่เกี่ยวกับโรคมากที่สุด?
- เราป่วยเพราะยุงได้อย่างไร?
- คนกับยุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เชื่อม นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในประเด็นต่างๆทีละประเด็น ส่วนครูช่วยเขียนสาระสำคัญบนกระดานจากที่นักเรียนได้แลกเปลี่ยนร่วมกัน
ใช้ นักเรียนวาดภาพโครงสร้างของยุงกับตัวเองออกมาเป็นรูปภาพลงในสมุด
                      วันศุกร์                 
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้ นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย

ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่องเกี่ยวกับสายพันธุ์ของยุง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ภาระงาน
- สำรวจและจัดเก็บตัวอย่างยุงจากสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องเก็บของ ห้องน้ำ สวนป่า ห้องเรียน ฯลฯ
- วาดภาพโครงสร้างของยุง
หาข้อมูลเพิ่มเติมจากเหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ศึกษามาร่วมกัน
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจลักษณะเด่นของยุงแต่ละสายพันธุ์ และสามารถอธิบายโครงสร้างของยุงเชื่อมโยงสู่คนได้
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมในการสำรวจและสังเกตความเหมือนและต่างของยุงแต่ละสายพันธุ์ได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกัน
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงโครงสร้างและลักษณะเด่นๆของยุงแต่ละสายพันธุ์สู่คนได้
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ได้รับฟังมาถ่ายทอดเป็นความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายโครงสร้างของยุงและลักษณะเด่นของแต่ละสายพันธุ์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้ดูและข้อมูลที่ศึกษาด้วยตนเองได้



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 5
    ในสัปดาห์ที่ 5 นี้ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนมีวิธีในการจับยุงได้อย่างไร” นักเรียนทุกคนสร้างอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจับยุงของตัวเองจากวัสดุที่ใกล้ตัว เช่นถุงพลาสติก ตาข่าย ขวดน้ำ ฯลฯ เมื่อทุกคนมีอุปกรณ์จับและใส่ยุงแล้ว ครูพานักเรียนเดินสำรวจและเก็บตัวอย่างยุงจากสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องเก็บของ ห้องน้ำ สวนป่า ห้องเรียน ฯลฯ สู่ขวดน้ำแล้วปิดฝาด้วยมุ้ง จากนั้นครูให้นักเรียนนำตัวอย่างของยุงแต่ละตัวที่จับมาได้ ส่องดูโครงสร้างของยุงและลักษณะเด่นด้วยแว่นขยาย จากนั้นทุกคนช่วยกันจัดกลุ่มยุงที่มีลักษณะคล้ายกันอยู่ด้วยกันโดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin) นักเรียนสรุปความเข้าใจของตนเองผ่านการวาดภาพโครงสร้างของยุงและเชื่อมโยงสู่โครงสร้างภายนอกของตัวเองลงในกระดาษ A4
    ในวันอังคารและวันพุธครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ยุงมีสายพันธุ์อะไรบ้าง/ ยุงแต่ละสายพันธุ์มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรและนำเชื้อโรคอะไรมาสู่คนเรา” จากนั้นนักเรียนทุกคนช่วยกันหาคำตอบจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เมื่อได้ข้อมูลแล้ว นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ศึกษามาร่วมกันแล้วช่วยกันจัดหมวดหมู่ของสายพันธุ์ของยุง ในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้าง รูปร่างลักษณะเด่นๆ การเคลื่อนที่ของลูกน้ำและตัวเต็มวัย ช่วงเวลาในการหาอาหาร และเชื้อโรคที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share) จากนั้นนักเรียนสรุปความเข้าใจเป็น Mind Mapping เกี่ยวกับสายพันธุ์ของยุง และนำเสนอชิ้นงานร่วมกัน
    ในวันพฤหัสบดีครูเปิดวงสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนร่วมกันในประเด็นดังนี้ ช่วงไหนของยุงที่เกี่ยวกับโรคมากที่สุด? / เราป่วยเพราะยุงได้อย่างไร? / คนกับยุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร? นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในประเด็นต่างๆทีละประเด็น ส่วนครูช่วยเขียนสาระสำคัญบนกระดานจากที่นักเรียนได้แลกเปลี่ยนร่วมกัน แต่ยังมีประเด็นของอาการในแต่ละโรคที่ข้อมูลยังไม่มีใครหามา จึงต้องหาข้อมูลใหม่กันอีกครั้ง แล้วพูดกันใหม่ครั้งสำหรับประเด็น “เราป่วยเพราะยุงได้อย่างไร” เมื่อพูดคุยกันเสร็จนักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุด
    ในวันศุกร์นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน และสรุปความเข้าใจผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย

    ตอบลบ