เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย Mosquito เชื้อมรณะ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของวงจรชีวิตยุง และสามารถออกแบบสร้างนวัตกรรมในการป้องกัน และกำจัดยุงได้อย่างสร้างสรรค์
- เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของยุง และสัตว์ต่างๆที่เป็นพาหะนำโรค รวมทั้งสามารถวางแผนป้องกันสุขภาพจากโรคติดต่อ
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแล กำจัด ตัดวงจร และแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคได้


วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Mind Mapping (เนื้อหา/ครู)

 

ภูมิหลังของปัญหา :
       ยุงเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กแต่ทุกคนกลัว สามารถพบได้ทุกที่ เนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคต่างๆที่ส่งผลถึงชีวิตเช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย โรคไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้าง และทุกๆปีประเทศไทยจะมีจำนวนของผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยุงชุกชุมและมีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรงเรียน และในชุมชนซึ่งจะเกิดการติดต่อและแพร่ระบาดของเชื้อจากยุงสู่คนได้อย่างรวดเร็ว
       จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงสนในอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเชื้อโรค และอันตรายจากยุงชนิดต่างๆ เพื่อวางแผนป้องกันและสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อกำจัดยุงอย่างรู้เท่าทัน



ปฏิทินการเรียนรู้แบบบูรณาการPBL ( Problem Based  Learning )
                                         หน่วย : Mosquito เชื้อมรณะ ระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่4  Quarter 1  ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2557เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 1 : นักเรียนสามารถรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง และสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน และคุณครูได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
1
14 – 16
..
2557
โจทย์
- อารมณ์และความรู้สึก
- สร้างแรงบันดาลใจ
คำถาม
- เมื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของเรากับสภาพภูมิอากาศ นักเรียนคิดว่าตัวเองมีสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างไร?
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อเรายกแขนข้างขวาช้าๆแล้วทิ้งค้างไว้สักระยะเวลาหนึ่ง?
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อเราเดินยกขาสูงๆอยู่กับที่และเร็วๆสักระยะเวลาหนึ่ง?
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรหลังจากเล่นเกมเสร็จ?
เครื่องมือคิด
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Think Pair Share เพื่อเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้โดยการพานักเรียนเดินสำรวจ และนำคลิปวีดีโอเพื่อสร้างแรงให้อยากเรียนรู้/กระตุ้นการคิดด้วยคำถาม)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ “เห็นชัดๆวินาทียุงดูดเลือด” และ น้องฮาซันกับไข้สมองอักเสบ”
- ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของตนเองกับสภาพภูมิอากาศ “นักเรียนคิดว่าตัวเองมีสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างไร”
- นักเรียนถ่ายทอดความรู้ของตนเองผ่านการบรรยายถึงสภาพภูมิอากาศของตัวเองทีละคนโดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin)
- ครูพาเล่นเกมแนะนำตัวเองเพื่อสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน
- ครูพานักเรียนทำโยคะสติที่ละส่วน โดยมีสติทุกครั้งที่ทำและสำรวจความรู้ของตนเองหลังทำโดยใช้คำถาม “นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อทำกิจกรรมเสร็จ”
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำและหลังจากทำเสร็จและสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
(Round Rubin)
- ครูพานักเรียนเล่นเกมกบ อ๊บๆ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน
- ครูพานักเรียนเดินไปสำรวจในที่ต่างๆ
ซึ่งทุกๆที่ให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่มีเหมือนกันและต่างกันอย่างไร
-
ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “เห็นชัดๆวินาทียุงดูดเลือด”
และ น้องฮาซันกับไข้สมองอักเสบเพื่อแรงบันดาลใจ
- นักเรียนเขียนเรื่องที่ตนเองอยากเรียนรู้ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่ใกล้ตัวของตนเอง โดยใช้เครื่องมือคิด (Think Pair Share)
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
ชิ้นงาน
- บันทึกความรู้สึกและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
ภาระงาน
- สำรวจและจดบันทึกสิ่งที่พบเห็น
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน


ความรู้ : สามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตนเองและรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติ
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมที่สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน และคุณครูได้
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกันในการเล่นเกม
- รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงสภาพภูมิอากาศกับอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ได้รับฟังมาถ่ายทอดเป็นความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้อย่างมีสติ
- สามารถอธิบายถึงสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมเล่นเกมหรือกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 2-3 : สามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้ และการทำงานตามความความสนใจได้อย่างเป็นขั้นตอน
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
2-3
19-30
..
2557
โจทย์ กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อโครงงาน
คำถาม
- นักเรียนจะตั้งชื่อโครงงานอย่างไรจึงจะน่าสนใจและเกิดการอยากเรียนรู้?
- สิ่งที่นักเรียนรู้แล้วเกี่ยวกับยุงมีอะไรบ้าง?
- คำถามที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับยุงมีอะไรบ้าง?
- นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้อย่างไร?
- วามเข้าใจเกี่ยวกับโครงงานก่อนเรียนมีอะไรบ้าง?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Card and Chart เขียนสิ่งที่รู้แล้ว/คำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
-  Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Place mats สิ่งที่อยากเรียนรู้
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปความเข้าใจก่อนเรียน

- ครูใช้คำถาม “นักเรียนจะตั้งชื่อโครงงานอย่างไรจึงจะน่าสนใจและเกิดการอยากเรียนรู้”
- นักเรียนระดมความคิดร่วมกันเพื่อตั้งชื่อโครงงานเป็นกลุ่มย่อยก่อนโดยใช้เครื่องมือคิด (Place mats)
- นักเรียนนำเสนอชื่อโครงงานพร้อมเหตุผลที่ละกลุ่ม และช่วยกันขมวดคำอีกทีโดยใช้เครื่องมือคิด
(Blackboard Share)
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว /สิ่งที่อยากเรียนรู้และตกแต่งให้สวยงามโดยใช้เครื่องมือคิด (Card and Chart)
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้อย่างไรเพื่อตอบโจทย์สิ่งที่เราอยากเรียนรู้”
- ครูให้นักเรียนแบ่งเป็น 6  กลุ่มเพื่อพูดคุยและร่วมวางแผนการเรียนรู้จากคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือคิด (
Round Rubin)
- นักเรียนช่วยกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ทั้ง 10 สัปดาห์
และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมเสนอแนะกิจกรรมเพิ่มเติมและสร้างปฏิทินของห้องร่วมกันอีกครั้ง

(Show and Share)
- นักเรียนทำ
Mind Mapping สรุปความเข้าใจก่อนการเรียนรู้
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2-3

ชิ้นงาน
- เขียนหัวข้อโครงงาน

- เขียนสิ่งที่รู้แล้ว/อยากเรียนรู้
-
Mind Mapping ก่อนเรียน
- ปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้ราย
สัปดาห์ที่
2-3
ภาระงาน
พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ
และสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้

ความรู้ : นักเรียนสามารถเลือกหัวข้อที่สนใจเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลรวมทั้งออกแบบแผนการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- ทำชิ้นงานและจัดมุมต่างๆตกแต่งห้องเรียนได้
- การสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
- เคารพสิทธิซึ่งกันและกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ออกแบบและวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอน
- เลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำงานได้คุ้มค่า
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถสังเคราะห์ข้อมูลปฏิทินที่แต่ละกลุ่มทำรวมเป็นปฏิทินห้องได้
- การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มอยากเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
คุณลักษณะ
:
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 4 : นักเรียนเข้าใจวงจรชีวิตของยุงจากการออกแบบและวางแผนการเพาะพันธ์ยุง เพื่อหาวิธีการกำจัด ตัดวงจร และควบคุมพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์ ได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
4

 2 – 6
มิ.ย. 57
โจทย์  วงจรชีวิตของยุง
คำถาม
- นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเพาะพันธุ์ยุงอย่างไร?
- นักเรียนจะมีวิธีกำจัดตัดวงจรและควบคุมยุงที่เพาะพันธุ์ได้อย่างไร?
- ช่วงวัยไหนที่ยุงเป็นพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์?
- นักเรียนควรกำจัดยุงช่วงวัยไหนที่มีคุณภาพที่สุด/เพราะเหตุใด?
- ทำไมยุงต้องดูดเลือด?
- ถ้ายุงไม่กินเลือดจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้โดยจัดเตรียมอุปกรณ์เช่น มุ่ง ไม้ เชือก และนำคลิปวีดีโอเพื่อเชื่อมโยงคนกับยุง/กระตุ้นการคิดด้วยคำถาม)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้และออกแบบวางแผนสร้างอุปกรณ์เพาะเลี้ยงยุง)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ “การกำเนิดของคน”

- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเพาะพันธุ์ยุงอย่างไร” โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่มๆละเท่าๆกัน เพื่อร่วมกันออกแบบ และวางแผนการเพาะเลี้ยงยุงที่สามารถควบคุมได้
- นักเรียนสร้างอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ยุงจากวัสดุที่หามาได้แล้วนำยุงปล่อยเข้าไป
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “วงจรชีวิตของยุงเป็นอย่างไร”
จากนั้นนักเรียนศึกษาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงจรชีวิต ของยุงในช่วงวัยต่างๆจากแหล่งเรียนรู้ที่มี ควบคู่กับการสังเกตการเพาะเลี้ยงยุง
- ครูและนักเรียนสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับวงจรชีวิตของยุงโดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin)
- นักเรียนร่วมทำโมเดลวงจรชีวิตของยุง
- ครูเปิดคลิปวีดีโอการกำเนิดของคนให้นักเรียนดู แล้วกระตุ้นด้วยคำถามดังนี้
นักเรียนเห็นอะไรบ้าง?,ดูแล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร และคิดเห็นอย่างไร?,คนและยุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share)
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ชิ้นงาน
- อุปกรณ์เพาะเลี้ยงยุง
- โมเดลจำลองวงจรชีวิตยุง
- สรุปการกำเนิดของคน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ภาระงาน
- ออกแบบและวางแผนการเพาะเลี้ยงยุงที่สามารถควบคุมได้
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน Show and Share

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายวงจรชีวิตองยุงและวิธีการกำจัด ตัดวงจร และควบคุมพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์ ได้
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมในการออกแบบและวางแผนการเพาะเลี้ยงยุงได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกัน
ทักษะการคิด
- สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากการทดลองเพาะเลี้ยงยุง
- สามารถคิดเชื่อมโยงวงจรชีวิตของยุงกับคนได้
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ได้รับฟังมาถ่ายทอดเป็นความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายการออกแบบและวางแผนในการเพาะเลี้ยงยุงให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้ดูและข้อมูลที่ศึกษาด้วยตนเองได้
เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 5 : นักเรียนเข้าใจลักษณะความแตกต่างของยุงแต่ละสายพันธุ์ และสามารถอธิบายโครงสร้างของยุงเชื่อมโยงสู่คนได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
5
9 - 13
มิ.ย. 57
โจทย์  สายพันธุ์ของยุง
คำถาม
- ยุงแต่ละสายพันธุ์มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- ช่วงไหนของยุงที่เกี่ยวกับโรคมากที่สุด?
- เราป่วยเพราะยุงได้อย่างไร?
- คนกับยุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง/กระตุ้นการคิดด้วยคำถาม)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้และออกแบบวางแผนสร้างอุปกรณ์จับยุง)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนมีวิธีในการจับยุงได้อย่างไร” เพื่อให้นักเรียนสร้างอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจับยุงขึ้นด้วยตัวเองโดยใช้วัสดุที่ใกล้ตัว เช่นถุงพลาสติก ตาข่าย ขวดน้ำ แล้วทดลองจับยุงตามที่ต่างๆ
- ครูให้นักเรียนนำตัวอย่างของยุงแต่ละตัวที่จับมาได้ ส่องดูโครงสร้างของยุงและลักษณะเด่นด้วยแว่นขยาย แล้วจัดกลุ่มของยุงโดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin)
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ยุงมีสายพันธุ์อะไรบ้าง/ ยุงแต่ละสายพันธุ์มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร” จากนั้นนักเรียนทุกคนช่วยกันหาคำตอบจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ศึกษามาร่วมกันแล้วช่วยกันจัดหมวดหมู่ของสายพันธุ์ของยุง ในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้าง รูปร่างลักษณะเด่นๆ การเคลื่อนที่ของลูกน้ำและตัวเต็มวัย ช่วงเวลาในการหาอาหาร และเชื้อโรคที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share)
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเป็น Mind Mapping เกี่ยวกับสายพันธุ์ของยุง และความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ แล้วนำเสนอชิ้นงาน เพื่อเพิ่มเติมชิ้นงานของร่วมกัน
- ครูเปิดวงสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนร่วมกันในประเด็นดังนี้
ช่วงไหนของยุงที่เกี่ยวกับโรคมากที่สุด?,เราป่วยเพราะยุงได้อย่างไร?,
คนกับยุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ชิ้นงาน
-  Mind Mapping เกี่ยวกับสายพันธุ์ของยุง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ภาระงาน
- สำรวจและจัดเก็บตัวอย่างยุงจากสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องเก็บของ ห้องน้ำ สวนป่า ห้องเรียน ฯลฯ
- วาดภาพโครงสร้างของยุง
หาข้อมูลเพิ่มเติมจากเหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ศึกษามาร่วมกัน
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจลักษณะเด่นของยุงแต่ละสายพันธุ์ และสามารถอธิบายโครงสร้างของยุงเชื่อมโยงสู่คนได้
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมในการสำรวจและสังเกตความเหมือนและต่างของยุงแต่ละสายพันธุ์ได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกัน
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงโครงสร้างและลักษณะเด่นๆของยุงแต่ละสายพันธุ์สู่คนได้
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ได้รับฟังมาถ่ายทอดเป็นความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายโครงสร้างของยุงและลักษณะเด่นของแต่ละสายพันธุ์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้ดูและข้อมูลที่ศึกษาด้วยตนเองได้

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 6 : นักเรียนเข้าใจ และสามารถหาวิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคต่างๆที่มาจากพาหะนำโรค เช่น  แมลงหวี่ แมลงวัน เหา และอื่นได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
6
16 - 20
มิ.ย. 57
โจทย์ : เชื้อโรคที่มาจากยุง และพาหะนำโรคต่างๆ
Key Questions
- เชื้อไวรัสจากยุงส่งผลสู่ระบบร่างกายส่วนไหนบ้าง และส่งผลอย่างไร?
- เชื้อโรคจากยุงมีผลต่อร่างกายของสัตว์อย่างไร?
- พาหะอย่างอื่นเช่นแมลงวัน แมงหวี่ เหา หมัด ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค


- ครูนำคลิปวีดีโอการ์ตูนนิเมชั่น เรื่องรู้ทันโรคจากยุง มาให้นักเรียนดู แล้วกระตุ้นด้วยคำถามต่อหลังจากดูเสร็จดังนี้
- นักเรียนเห็นอะไรบ้าง
- ดูแล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร และคิดเห็นอย่างไร
- นักเรียนเห็นปัญหาอะไรบ้างจากเรื่อง และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share)
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามดังนี้ เชื้อไวรัสจากยุงส่งผลสู่ระบบร่างกายส่วนไหนบ้าง และส่งผลอย่างไร?,เชื้อโรคจากยุงมีผลต่อร่างกายของสัตว์อย่างไร?,พาหะอย่างอื่นเช่นแมลงวัน แมงหวี่ เหา มัด ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร?
จากนั้นนักเรียนทุกคนช่วยกันหาคำตอบจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ศึกษามาร่วมกันแล้วช่วยกันจัดหมวดหมู่ของเชื้อโรคต่างๆ โดยใช้เครื่องมือคิด         (Blackboard Share)
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเป็น Mind Mapping สรุปสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงาน และเพิ่มเติมชิ้นงานของร่วมกัน
-
ครูเปิดวงสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนร่วมกันในประเด็นดังนี้
วิธีการดูแลตัวเอง และป้องกันเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ที่เป็นพาหะชนิดต่างๆ
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
ชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
- ป้ายเตือนและแนะนำวิธีการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคที่มาจากพาหะต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
ภาระงาน
- นักเรียนหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่มาจากยุงเป็นชิ้นงานที่หลากหลาย
- กำจัดเหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่มาจากพาหะนำโรค และคิดหาวิธีเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคต่างๆได้ ตลอดจนแนะนำให้ผู้อื่นมีความเข้าใจร่วมกัน
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ร่วมกับเพื่อนๆได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกัน
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงพาหะต่างๆที่ทำให้เกิดโรคกับคนได้
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ได้รับฟังมาถ่ายทอดเป็นความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายที่มาของโรคที่เกิดจากพาหะนำโรคต่างๆ และวิธีการป้องกันและดูแลตัวเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้ดูและข้อมูลที่ศึกษาด้วยตนเองได้

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 7 : นักเรียนเข้าใจคุณสมบัติของสมุนไพรใกล้ตัว แล้วสามารถนำสมุนไพรเหล่านั้นมาใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการไล่ยุงหรือกำจัดยุง ตลอดจนแนะนำให้ผู้อื่นมีความเข้าใจร่วมกันได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
7
23 - 27
มิ.. 57
โจทย์ : สมุนไพรไล่ยุง
Key Questions
- เราจะมีวิธีป้องกันและกำจัดยุงอย่างไร?
- นักเรียนคิดค้นและสร้างนวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุงได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน

- นักเรียนดูคลิปความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันและกำจัดลูกน้ำของยุง/และการดูแลสุขภาพเบื้องต้น
- ครูปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเราจะมีวิธีป้องกันและกำจัดยุงได้อย่างไร
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีป้องกันและกำจัดยุงร่วมกัน

- นักเรียนออกแบบวางแผนการทำงานเพื่อกำจัดเหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียนและที่บ้านของตนเอง
- นักเรียนเดินสำรวจบริเวณที่น่าจะเหมาะเป็นแหล่งที่เพาะพันธุ์ยุงและกำจัดภาชนะที่มีน้ำขัง
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “
นักเรียนจะคิดค้นและสร้างนวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุงอย่างไร
- นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถกำจัดยุงได้
แล้วทดลองทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจากสมุนไพรต่างๆ
- นักเรียนร่วมกันออกแบบและวางแผนการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุง
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์และทำสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุง
- ทดลองใช้สมุนไพรที่ทำขึ้นตามจุดต่างๆ แล้วบันทึกผลการทดลอง
- เตรียมบอร์ดโครงงานเพื่อเปิดนิทรรศการนำเสนอสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุงต่อผู้สนใจต่อไป
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7


ชิ้นงาน
- ยาสมุนไพรไล่ยุง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ออกแบบวางแผนการทำงานเพื่อกำจัดเหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียนและที่บ้านของตนเอง
- เดินสำรวจบริเวณที่น่าจะเหมาะเป็นแหล่งที่เพาะพันธุ์ยุงและกำจัดภาชนะที่มีน้ำขัง
- ทดลองทำสมุนไพรไล่ยุง                          
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจคุณสมบัติของสมุนไพรใกล้ตัวแล้วนำมาใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการไล่ยุงหรือกำจัดยุง ตลอดจนแนะนำให้ผู้อื่นมีความเข้าใจร่วมกัน
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ร่วมกับเพื่อนๆได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกัน
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงนำสมุนไพรใกล้ตัวมาผสมผสานเพื่อทำเป็นสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุง
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ได้รับฟังมาถ่ายทอดเป็นความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายโครงงานของตนเองให้ผู้ที่สนใจรับรู้และเข้าใจได้
คุณลักษณะ
:
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้ดูและข้อมูลที่ศึกษาด้วยตนเองได้
เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 8-9 : นักเรียนสามารถออกแบบและวางแผนสร้างอุปกรณ์ดักจับยุง เพื่อลดปริมาณ และกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรคได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
8-9
30 มิ..
-
11.. 57
โจทย์ : อุปกรณ์ดักจับยุง
Key Questions
- นักเรียนจะออกแบบและวางแผนสร้างอุปกรณ์ดักจับยุงได้อย่างไร?
- อุปกรณ์ดักจับยุงสามารถลดและกำจัดยุงได้อย่างไร ?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน

- ครูกระตุ้นด้วยปัญหายุงที่มากมายในห้องเรียนนักเรียนจะออกแบบและวางแผนสร้างอุปกรณ์ดักจับยุงได้อย่างไร
- นักเรียนศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการคิดสิ่งประดิษฐ์ชิ้นงานใหม่
- นักเรียนพูดคุยเพื่อวางแผนและออกแบบอุปกรณ์ดักจับและกำจัดยุงร่วมกันเป็นกลุ่มโดยที่ไม่เคยมีใครสร้างขึ้นมาก่อน(Show and Share)
- นักเรียนนำเสนอแบบของอุปกรณ์ดักจับและกำจัดยุง
(
Show and Share)
- เตรียมอุปกรณ์เป็นการบ้าน
- ครูให้นักเรียนนำอุปกรณ์ที่เตรียมมา แล้วกระตุ้นด้วยคำถาม “อุปกรณ์ที่นักเรียนเตรียมมานำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร” และ “อุปกรณ์ดักจับยุงสามารถลดและกำจัดยุงได้อย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันทีละกลุ่ม
- สรุปผลการทดลองโดยผ่านเครื่องมือคิด (Show and Share)
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8-9

ชิ้นงาน
- อุปกรณ์ดักจับยุง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ออกแบบและวางแผนสร้างอุปกรณ์ดักจับยุง
- นำเสนอชิ้นงาน
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
 (Show and Share)
ความรู้ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายกลไกการทำงานของอุปกรณ์ดักจับและกำจัดยุงที่ตนเองสร้างขึ้นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ร่วมกับเพื่อนๆได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกัน
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงนำความรู้ที่หลากหลายเพื่อสร้างเป็นความรู้ใหม่ของตนเองได้
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ตนเองเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของอุปกรณ์ที่ตนเองสร้างขึ้นถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้
ทักษะการสื่อสาร

- อธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายโครงงานของตนเองให้ผู้ที่สนใจรับรู้และเข้าใจได้
คุณลักษณะ
:
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้ดูและข้อมูลที่ศึกษาด้วยตนเองได้
เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 10 : นักเรียนมีความตระหนักถึงการดูแลรักษา และป้องกันร่างกายของตัวเองจากเชื้อโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
10
14 - 18
. 57

โจทย์ : โรคในอนาคต
Key Questions
- นักเรียนคิดว่าเชื้อโรคในอนาคตจะเป็นอย่างไร?
- นักเรียนมีวิธีดูแลรักษาร่างกายตัวเองอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
- Place mats วิเคราะห์ข่าวร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน

- ครูเปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับนักเรียนคิดว่าเชื้อโรคในอนาคตจะเป็นอย่างไรและนักเรียนมีวิธีดูแลรักษาร่างกายตัวเองอย่างไร
- ครูให้นักเรียนจัดกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับ โดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin)
- นักเรียนออกแบบชิ้นงานเพื่อสรุปความคิดเห็นร่วมกันในรูปแบบต่างๆ
- นักเรียนนำเสนอความคิดเห็น
และสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน (Show and Share)
- คุณแม่ของพี่ภูพานได้เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลลำปลายมาศ คุณลัดดา (ป้าตุ๊ก) ตำแหน่งพยาบาลชำนาญการพิเศษ มาให้ความรู้กับนักเรียน เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยุงในแต่ละช่วงให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
- นักเรียนและผู้ปกครองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยววิธีการกำจัดยุง
- นักเรียนสรุปความเข้าใจจากการเรียนรู้ของตนเองผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย
เช่น Flowchart Mind Mapping การ์ตูนช่อง และบรรยาย
- ครูนำข่าวเกี่ยวกับโรคติดต่อที่อันตรายต่อชีวิตหลากหลายโรค โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆละ 3 คนเพื่อวิเคราะห์ข่าวร่วมกัน
- นักเรียน
สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันภายในกลุ่มโดยใช้เครื่องมือคิด (Place mats)
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10

ชิ้นงาน
- ชาร์ตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโรคในอนาคต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- โรคในอนาคตตามความคิดของนักเรียน
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจ และสามารถดูแลรักษาและป้องกันร่างกายของตัวเองจากเชื้อโรคที่จะเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและในอนาคต
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับเพื่อนๆได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงนำความรู้ที่หลากหลายเพื่อสร้างเป็นความรู้ใหม่ของตนเองจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ตนเองเข้าใจเกี่ยวกับข่าวที่ได้รับมอบหมายร่วมกับเพื่อนๆในกลุ่มได้
ทักษะการสื่อสาร

- อธิบายความเข้าใจร่วมกันของกลุ่มให้เพื่อนกลุ่มอื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายความรู้สึกของตนเองในการวิเคราะห์ข่าว
คุณลักษณะ
:
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้อ่านและข้อมูลที่ได้จากผู้อื่นได้


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 11 : นักเรียนสามารถเผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ โครงงาน Mosquito เชื้อมรณะ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ชี้ ให้เห็นคุณค่า แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
11
21 - 25
.. 57

โจทย์ :
- การตกผลึกความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด
- นิทรรศการโครงงาน
- การแสดง
Key Question
นักเรียนจะเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโครงงานเรื่อง Mosquito เชื้อมรณะ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผย แพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับโครงงาน Mosquito เชื้อมรณะ
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-
 Wall Thinking ติดชิ้นงาน
-
Mind Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- Show and Share  นำเสนอการประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสามารถทำอะไรได้ดีแล้ว และอะไรที่ต้องพัฒนาเกี่ยวกับการเรียนรู้โครงงาน Mosquito เชื้อมรณะ
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง/กระตุ้นการคิดด้วยคำถาม)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้และออกแบบวางแผนการนำเสนอผลงาน)
- ผู้ปกครอง (ดูงานและตั้งคำถามเกี่ยวกับงานที่นักเรียนนำเสนอ)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ศึกษาผ่านมาเกี่ยวกับ โครงงาน Mosquito เชื้อมรณะ ให้ผู้อื่นรับทราบได้อย่างไร?”
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านมา
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน โครงงาน Mosquito เชื้อมรณะโดยผ่านเครื่องมือคิด (Round Rubin)
- นักเรียนร่วมกันจัดนิทรรศการแสดงผลงานจากโครงงาน Mosquito เชื้อมรณะ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “ นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?”
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด (Show and Share)
- นักเรียนแต่ละคนเขียน Mind  Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  จากการโครงงาน Mosquito เชื้อมรณะนักเรียนสามารถทำอะไรได้ดีแล้วบ้าง และอะไรที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม?
- นักเรียนทุกคน Show and Share
นำเสนอการประเมินตนเอง  ให้ครูและเพื่อนๆฟัง
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 11

ชิ้นงาน
- Mind Mapping หลังการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่ดีแล้ว/สิ่งที่ควรพัฒนา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 11
ภาระงาน
- การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงงาน Mosquito เชื้อมรณะ ให้ผู้อื่นเข้าใจ (Round Rubin)
- การวางแผนการนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
- ละครสรุปโครงงาน
- นำเสนอสรุปโครงงาน
(Show and Share)

ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับ โครงงาน Mosquito เชื้อมรณะ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มองเห็นคุณค่า และเห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม 
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
- การคิดจิตนาการในกาสร้างชิ้นงานต่างๆอย่างสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนในรูปแบบนิทรรศการแสดงผลงานต่างๆที่น่าสนใจ
- เป็นผู้ฟังที่ดี สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้ยินได้ฟังและจัดระบบข้อมูลอย่างเป็นระบบ                      
คุณลักษณะ :
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้อ่านและข้อมูลที่ได้จากผู้อื่นได้ 



สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับโครงงาน Mosquito เชื้อมรณะ
สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ยุงตัวเมียกินเลือดเป็นอาหาร
- ยุงชอบวางไข่ในน้ำขัง
- ยุงลายเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก
- ยุงสามารถวางไข่ได้ 100-400 ฟองต่อหนึ่งตัว
- ลูกยุงอาศัยอยู่ในน้ำ
- ยุงมีสองเพศคือ ตัวเมียและตัวผู้
- ยุงมี 4 สายพันธุ์ที่พบเจอบ่อยๆ
- คนสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ถึงสี่ครั้ง
- ยุงตัวผู้มีหนวดเหมือนไม้ขนไก่
- ยุงชอบที่มืดๆ และสีเข้มๆ
- ยุงเสือเป็นพาหะของโรคเท้าช้าง
- ยุงลายหากินช่วงเวลากลางวัน
- ยุงตัวผู้กินน้ำหวานเป็นอาหาร
- ยุงรำคาญเป็นพาหะของโรคไข้สมองอักเสบ
- ยุงที่อยู่ในที่ร้อนๆอับๆมักจะมีสีซีดและขายาว
- ยุงตัวเมียดูดเลือดเพื่อใช้ในการวางไข่
- ยุงก้นปล่องมีปีกและท้องลายถี่ๆ
- ยุงบ้านมีสีน้ำตาลเข้ม
- ยุงมีขนตามขาและลำตัว
- ยุงรำคาญหากินเวลากลางคืน
- ยุงเสือมีสีดำน้ำตาลเข้มสลับกันเหมือนลายเสือ
- ยุงในประเทศไทยมี 200 ชนิด
- ไข่ของยุงลายทนทานมากเพื่อรอคอยฝนเป็นปีๆได้
- ยุงก้นปล่องเป็นพาหะของโรคไข้ป่า
- ยุงมีอยู่ทุกที่

- ยุงนำเชื้อโรคสู่คนได้อย่างไร
- ตุ่มยุงเกิดขึ้นได้อย่างไร
- ยุงตัวผู้และยุงตัวเมียมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- ทำไมยุงตัวผู้จึงกินน้ำหวานเป็นอาหาร
- ไข่ยุงแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะอย่างไร
- ทำไมยุงแต่ละชนิดมีลักษณะไม่เหมือนกัน
- ยุงเป็นพาหะนำโรคอะไรบ้าง
- ยุงชนิดไหนมีพิษร้ายแรงที่สุด
- วงจรชีวิตของยุงเป็นอย่างไร
- ทำไมยุงต้องมีอยู่ทุกที่
- ยุงแต่ละชนิดพบเห็นที่ไหนบ้าง
- ทำไมยุงจึงวางไข่บนผิวน้ำ
- ยุงมีกี่สายพันธุ์อะไรบ้าง
- ยุงขยายพันธุ์ได้อย่างไร
- เราจะกำจัดยุงช่วงเวลาใดดีที่สุด
- ลูกน้ำเคลื่อนที่อย่างไร
- เราจะมีวิธีป้องกันตัวเองจากยุงได้อย่างไร
- ยุงดูดเลือดแล้วสามารถอยู่ได้กี่วัน

- เรามีวิธีการกำจัดยุงได้อย่างไร
- ทำไมทุกคนจึงไม่ชอบยุง
- ทำไมยุงลายถึงมีลายขาวสลับดำ
- ไข่ยุงบ้านมีลักษณะอย่างไร
- ลูกน้ำเจริญเติบโตได้อย่างไร
- ทำไมยุงตัวเมียจึงกินเลือดเป็นอาหาร
- ยุงเกิดมาได้อย่างไร
- นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเพาะพันธุ์ยุงอย่างไร
- ช่วงวัยไหนที่ยุงเป็นพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์
- นักเรียนควรกำจัดยุงช่วงวัยไหนที่มีคุณภาพที่สุด/เพราะเหตุใด
- นักเรียนคิดค้นและสร้างนวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุงได้อย่างไร
- นักเรียนจะออกแบบและวางแผนสร้างอุปกรณ์ดักจับยุงได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าเชื้อโรคในอนาคตจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนจะมีวิธีดูแลรักษาร่างกายตัวเองอย่างไร
- นักเรียนจะเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโครงงานเรื่อง Mosquito เชื้อมรณะ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร


Topic

ตารางวิเคราะห์ Q.1 57

ปฏิทิน

แผน PBL ยุง

สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับโครงงาน Mosquito เชื้อมรณะ