เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย Mosquito เชื้อมรณะ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของวงจรชีวิตยุง และสามารถออกแบบสร้างนวัตกรรมในการป้องกัน และกำจัดยุงได้อย่างสร้างสรรค์
- เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของยุง และสัตว์ต่างๆที่เป็นพาหะนำโรค รวมทั้งสามารถวางแผนป้องกันสุขภาพจากโรคติดต่อ
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแล กำจัด ตัดวงจร และแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคได้


Week 7


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 7 : นักเรียนเข้าใจคุณสมบัติของสมุนไพรใกล้ตัว แล้วสามารถนำสมุนไพรเหล่านั้นมาใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการไล่ยุงหรือกำจัดยุง ตลอดจนแนะนำให้ผู้อื่นมีความเข้าใจร่วมกันได้

Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
7
23 - 27
มิ.. 57
โจทย์ : สมุนไพรไร่ยุง
Key Questions
- เราจะมีวิธีป้องกันและกำจัดยุงอย่างไร?
- นักเรียนคิดค้นและสร้างนวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุงได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง/กระตุ้นการคิดด้วยคำถาม)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้และออกแบบวางแผนการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุง)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
                                      วันจันทร์                              
ชง  นักเรียนดูคลิปความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันและกำจัดลูกน้ำของยุง/และการดูแลสุขภาพเบื้องต้น
-      นักเรียนเห็นอะไรบ้าง
-      ดูแล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร และคิดเห็นอย่างไร
-      นักเรียนเห็นปัญหาอะไรบ้างจากเรื่อง และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
เชื่อม
- ครูปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเราจะมีวิธีป้องกันและกำจัดยุงได้อย่างไร

- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีป้องกันและกำจัดยุงร่วมกัน
ใช้
- นักเรียนออกแบบวางแผนการทำงานเพื่อกำจัดเหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียนและที่บ้านของตนเอง
- นักเรียนเดินสำรวจบริเวณที่น่าจะเหมาะเป็นแหล่งที่เพาะพันธุ์ยุงและกำจัดภาชนะที่มีน้ำขัง
                       วันอังคาร  - วันพฤหัสบดี                           ชง
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดค้นและสร้างนวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุงได้อย่างไร
- นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถกำจัดยุงได้
แล้วทดลองทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจากสมุนไพรต่างๆ
 เชื่อม นักเรียนร่วมกันออกแบบและวางแผนการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุง
ใช้
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์และทำสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุง
- ทดลองใช้สมุนไพรที่ทำขึ้นตามจุดต่างๆ แล้วบันทึกผลการทดลอง
- เปิดนิทัศการนำเสนอสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุงต่อผู้สนใจ
                                  วันศุกร์                                           
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้ นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย
ชิ้นงาน
- ยาสมุนไพรไล่ยุง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7
ภาระงาน
- ออกแบบวางแผนการทำงานเพื่อกำจัดเหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียนและที่บ้านของตนเอง
- เดินสำรวจบริเวณที่น่าจะเหมาะเป็นแหล่งที่เพาะพันธุ์ยุงและกำจัดภาชนะที่มีน้ำขัง
- ทดลองทำสมุนไพรไล่ยุง                                      
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจคุณสมบัติของสมุนไพรใกล้ตัวแล้วนำมาใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการไล่ยุงหรือกำจัดยุง ตลอดจนแนะนำให้ผู้อื่นมีความเข้าใจร่วมกัน
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ร่วมกับเพื่อนๆได้
- เคารพสิทธิซึ่งกันในการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกัน
ทักษะการคิด
- สามารถคิดเชื่อมโยงนำสมุนไพรใกล้ตัวมาผสมผสานเพื่อทำเป็นสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุง
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ได้รับฟังมาถ่ายทอดเป็นความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- สามารถอธิบายโครงงานของตนเองให้ผู้ที่สนใจรับรู้และเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมทำชิ้นงานและกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้ดูและข้อมูลที่ศึกษาด้วยตนเองได้



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 7
    ในสัปดาห์นี้นักเรียนวางแผนจะทำสมุนไพรไล่ยุงเพื่อเป็นอีกทางหนึ่งที่จะป้องกันตัวเองจากยุง และโรคที่มาจากยุง ซึ่งครูได้หาคลิปเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ “เรื่องมาตรการกำจัดยุงลาย” เกี่ยวกับวิธีป้องกันและกำจัดลูกน้ำของยุง/และการดูแลสุขภาพเบื้องต้น
     นักเรียนเห็นอะไรบ้าง
     ดูแล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร และคิดเห็นอย่างไร
    นักเรียนเห็นปัญหาอะไรบ้างจากเรื่อง และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
    จากนั้นครูปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเราจะมีวิธีป้องกันและกำจัดยุงได้อย่างไร นักเรียนทุกคนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีป้องกันและกำจัดยุงร่วมกัน และร่วมกันออกแบบวางแผนการทำงานเพื่อกำจัดเหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียนและที่บ้านของตนเอ จากนั้นนักเรียนเดินสำรวจบริเวณที่น่าจะเหมาะเป็นแหล่งที่เพาะพันธุ์ยุงและกำจัดภาชนะที่มีน้ำขัง พร้อมกับใส่ทรายอะเบทลงไปในน้ำขัง
    ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะคิดค้นและสร้างนวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดยุงอย่างไร” เมื่อได้โจทย์ที่ครูให้นักเรียนจับกลุ่มกันประมาณ 3-4 คน เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถกำจัดยุงได้ แล้วพูดคุยวางแผนร่วมกันเพื่อทำการทดลองทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจากสมุนไพรต่างๆเช่น มะกูด มะนาว กระเพรา โหระพา และตะไคร้หอม ซึ่งจะได้เป็นเทียนหอมไล่ยุง ธูปหอมไล่ยุง และสเปรย์ไล่ยุง ซึ่งในวันอังคารทุกคนได้เตรียมอุปกรณ์มาทำร่วมกัน แต่ทุกกลุ่มก็เจอปัญหาที่หลากหลายทั้งเหมือนและแตกต่างกัน เช่น ไม่ส่วนผสมตรงตามสูตรที่หามา อุปกรณ์ที่ใช้มีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม (ที่บ้านไม่มีประยุกต์ใช้เช่น ไม่มีเครื่องปันนักเรียนแก้ปัญหาโดยใช้ครกเล็กตำมือแทน) เห็นนักเรียนทุกคนตั้งใจครูเองก็ชื่นใจ ทุกผลิตภัณฑ์มุ่งเน้นสิ่งเดียวกันคือใช้ได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ เห็นส่วนนี้จากการกล้าทดลองใช้กับตัวเองก่อนที่จะทดลองใช้กับผู้อื่น เมื่อสมุนไพรไล่ยุงทดลองใช้จริงเสร็จนักเรียนทุกกลุ่มจะเตรียมบอร์ดโครงงานเพื่อให้ความรู้แก่ผู้อื่นต่อไป

    ตอบลบ