เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย Mosquito เชื้อมรณะ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของวงจรชีวิตยุง และสามารถออกแบบสร้างนวัตกรรมในการป้องกัน และกำจัดยุงได้อย่างสร้างสรรค์
- เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของยุง และสัตว์ต่างๆที่เป็นพาหะนำโรค รวมทั้งสามารถวางแผนป้องกันสุขภาพจากโรคติดต่อ
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแล กำจัด ตัดวงจร และแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคได้


Week 1


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
Topic : Mosuito เชื้อมรณะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 Quarter 1 ประจำปีการศีกษา 2557
เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 1 : นักเรียนสามารถรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง และสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน และคุณครูได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
1

14–16
..
2557
โจทย์
- อารมณ์และความรู้สึก
- สร้างแรงบันดาลใจ
คำถาม
- เมื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของเรากับสภาพภูมิอากาศ นักเรียนคิดว่าตัวเองมีสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างไร?
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อเรายกแขนข้างขวาช้าๆแล้วทิ้งค้างไว้สักระยะเวลาหนึ่ง?
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อเราเดินยกขาสูงๆอยู่กับที่และเร็วๆสักระยะเวลาหนึ่ง?
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรหลังจากเล่นเกมเสร็จ?
เครื่องมือคิด
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Think Pair Share เพื่อเลือกเรื่องที่
อยากเรียนรู้
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้โดยการพานักเรียนเดินสำรวจ และนำคลิปวีดีโอเพื่อสร้างแรงให้อยากเรียนรู้/กระตุ้นการคิดด้วยคำถาม)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอเห็นชัดๆวินาทียุงดูดเลือดและ
น้องฮาซันกับไข้สมองอักเสบ”

วันพุธ
ชง ครูบรรยายถึงสภาพภูมิอากาศในวันนี้ของครู (สภาพภูมิอากาศในวันนี้มีลักษณะฟ้ามีฝนตกบางๆเย็นสบาย) แล้วใช้คำถามต่อ “เมื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของเรากับสภาพภูมิอากาศนักเรียนคิดว่าตัวเองมีสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างไร ” เพื่อกระตุ้นนักเรียน
เชื่อม นักเรียนถ่ายทอดความรู้ของตนเองผ่านการบรรยายถึงสภาพภูมิอากาศของตัวเองทีละคนเป็นวงกลมจนครบทุกคน โดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin)
ชง
- ครูพาเล่นเกมแนะนำตัวเองเพื่อสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน เช่น ใครเป็นลูกคนเดียวของคุณพ่อคุณแม่บ้าง แล้วคนที่คำตอบตรงกับคำถามก็จะเดินออกมา 1 ก้าว และแนะนำตัวเองให้เพื่อนรู้จัก ชื่อและเป็นคนที่ไหน
- ครูพานักเรียนทำโยคะสติที่ละส่วน โดยมีสติทุกครั้งที่ทำและสำรวจความรู้ของตนเองหลังทำโดยใช้คำถาม “นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อเรายกแขนข้างขวาช้าๆแล้วทิ้งค้างไว้สักระยะเวลาหนึ่ง ” และ “นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อเราเดินยกขาสูงๆอยู่กับที่และเร็วๆสักระยะเวลาหนึ่ง
เชื่อม นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำและหลังจากทำเสร็จและสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
วันพฤหัสบดี
ชง ครูพานักเรียนเล่นเกมกบ ก๊บๆ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน แล้วกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “นักเรียนรู้สึกอย่างไรหลังจากเล่นเกมเสร็จ” และคิดว่าได้เรียนรู้อะไรจากเกม
เชื่อม
นักเรียนสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะที่เล่นเกม
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียนเห็นอะไรภายในห้องเรียนของเราบ้าง / รู้สึกอย่างไร / มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นนั้น
เชื่อม นักเรียนร่วมกันอธิบายสิ่งที่เห็นภายในห้องเรียน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเห็น และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ชง ครูพานักเรียนเดินไปสำรวจในที่ต่างๆ ซึ่งทุกๆที่ให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่มีเหมือนกันและต่างกันอย่างไร
เชื่อม กลับมาถึงห้องนักเรียนสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่พบเจอในทุกๆที่ และเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมากที่สุด
วันศุกร์
ชง ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอเห็นชัดๆวินาทียุงดูดเลือด
และ น้องฮาซันกับไข้สมองอักเสบ แล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่อจากการดูดังนี้
  • นักเรียนเห็นอะไรบ้าง
  • ดูแล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร และคิดเห็นอย่างไร
  • นักเรียนเห็นความเกี่ยวข้องอย่างไรกับตัวเอง
  • นักเรียนจะทำอย่างไรต่อไป

เชื่อม
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share)
- นักเรียนเขียนเรื่องที่ตนเองอยากเรียนรู้ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่ใกล้ตัวของตนเอง โดยใช้เครื่องมือคิด
(Think Pair Share)
- ครูและนักเรียนสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้
- คิดชื่อโครงงาานเป็นการบ้าน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1

ชิ้นงาน
- บันทึกความรู้สึกและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
ภาระงาน
- สำรวจและจดบันทึกสิ่งที่พบเห็น
- สะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ความรู้ : สามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตนเองและรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติ
ทักษะ :ทักษะชีวิต
-
สามารถร่วมกิจกรรมที่สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน และคุณครูได้
-
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกันในการเล่นเกม
- รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิด
-
สามารถคิดเชื่อมโยงสภาพภูมิอากาศกับอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้
-
การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการสิ่งที่ได้รับฟังมาถ่ายทอดเป็นความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
-
อธิบายอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้อย่างมีสติ
- สามารถอธิบายถึงสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
คุณลักษณะ :- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมเล่นเกมหรือกิจกรรมจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้












1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 1
    ในสัปดาห์แรกของวันเปิดเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 ครูเริ่มต้นด้วยการยกตัวอย่างสภาพภูมิอากาศในวันนี้ของครูมีลักษณะคล้ายๆท้องฟ้ามีฝนตกลงมาบางๆอากาศจึงเย็นสบาย แล้วใช้คำถามต่อ “เมื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของเรากับสภาพภูมิอากาศนักเรียนคิดว่าตัวเองมีสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างไร ” เพื่อกระตุ้นนักเรียนในการบอกความรู้สึกของตัวเอง จากนั้นนักเรียนถ่ายทอดความรู้ของตนเองผ่านการบรรยายถึงสภาพภูมิอากาศของตัวเองทีละคนเป็นวงกลมจนครบทุกคน โดยใช้เครื่องมือคิด (Round Rubin)
    ต่อจากนั้นครูพาเล่นเกมแนะนำตัวเองเพื่อสร้างสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน เช่น ใครเป็นลูกคนเดียวของคุณพ่อคุณแม่บ้าง แล้วคนที่คำตอบตรงกับคำถามก็จะเดินออกมา 1 ก้าว และแนะนำตัวเองให้เพื่อนรู้จัก ชื่อและเป็นคนที่ไหน ต่อด้วยครูพานักเรียนทำโยคะสติที่ละส่วน โดยมีสติทุกครั้งที่ทำและสำรวจความรู้ของตนเองหลังทำโดยใช้คำถาม “นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อเรายกแขนข้างขวาช้าๆแล้วทิ้งค้างไว้สักระยะเวลาหนึ่ง ” และ “นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อเราเดินยกขาสูงๆอยู่กับที่และเร็วๆสักระยะเวลาหนึ่ง ” ทุกครั้งหลังทำท่าโยคะเสร็จ นักเรียนจะร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำและหลังจากทำเสร็จและสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
    ครูพานักเรียนเดินสำรวจดูความเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนโดยรอบ สังเกตและจดจำสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อมาแลกเปลี่ยนร่วมกันในห้องเรียน เมื่อพูดคุยกันเสร็จแล้วครูพานักเรียนเล่นเกมกบ อ๊บๆ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน แล้วกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “นักเรียนรู้สึกอย่างไรหลังจากเล่นเกมเสร็จ” และคิดว่าได้เรียนรู้อะไรจากเกม นักเรียนสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะที่เล่นเกม เสร็จแล้วครูใช้คำถามกระตุ้นต่อ “นักเรียนเห็นอะไรภายในห้องเรียนของเราบ้าง / รู้สึกอย่างไร / มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นนั้น” นักเรียนร่วมกันอธิบายสิ่งที่เห็นภายในห้องเรียน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเห็น และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
    ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “เห็นชัดๆวินาทียุงดูดเลือด” และ น้องฮาซันกับไข้สมองอักเสบ แล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่อจากการดูดังนี้ “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง/ดูแล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไร และคิดเห็นอย่างไร/นักเรียนเห็นความเกี่ยวข้องอย่างไรกับตัวเอง/นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเพื่อมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่อยู่รอบตัวเรา” นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นของตนเอง และเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือคิด

    ตอบลบ